วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

เก้งหม้อ

ภาพที่แนบมา


เก้งหม้อ
Muntiacus feai


ลักษณะ : เก้งหม้อ มีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายคลึงกับเก้งธรรมดา ขนาดลำตัวไล่เลี่ยกัน เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม แต่เก้งหม้อจะมีสีลำตัวคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ด้านหลังสีออกน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีน้ำตาลแซมขาว ขาส่วนที่อยู่เหนือกีบจะมีสีดำ ด้านหน้าของขาหลังมีแถบขาวเห็นได้ชัดเจน บนหน้าผากจะมีเส้นสีดำอยู่ด้านในระหว่างเขา หางสั้นด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน

อุปนิสัย : เก้งหม้อ ชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ในป่าดงดิบ ตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ออกหากินในเวลากลางวันมากกว่าในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้ป่า ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว เวลาตั้งท้องนาน ๖ เดือน

ที่อยู่อาศัย : ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธารน้ำไหลผ่าน

เขตแพร่กระจาย : เก้งหม้อ มีเขตแพร่กระจาย อยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเทือกเขาภูเก็ต ในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ในจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานีและพังงา

สถานภาพ : องค์การสวนสัตว์ ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเก้งหม้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ในปัจจุบันเก้งหม้อจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และองค์การ IUCN จัดเก้งหม้อให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศ เนื่องจากมีเขตแพร่กระจายจำกัด และที่อยู่อาศัยถูกทำลายหมดไปเพราะการตัดไม้ทำลายป่า การเก็บกักน้ำเหนือเขื่อนและการล่าเป็นอาหาร เก้งหม้อเป็นเนื้อที่นิยมรับประทานกันมาก

ที่มา http://www.dusitzoo.org/index.php?option=c...4&Itemid=39

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละมั่ง สมัน กวางผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อนสมเสร็จ เก้งหม้อ พะยูน เลียงผา
Go to the top of the page
+Quote Post

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น