วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

จระเข้

ตำนานจระเข้กินคนแห่งสยามประเทศ

วงศกฤต สวัสดินฤนาท เขียน

นับแต่ครั้งโบราณกาล ชุมชนไทยนิยมตั้งบ้านเรือนอาศัยริมฝั่งแม่น้ำ ทำให้
มีเรื่องเล่ากันปากต่อปากถึงจระเข้ขนาดใหญ่ออกอาละวาดคาบคนไปกินเป็น
อาหาร

และเมื่อมีจระเข้ออกอาละวาดได้ไม่นานก็จะมีชาวบ้านรวมกลุ่มกันไปตามพราน
จระเข้เพื่อออกไล่ล่าและจับจระเข้กินคน พรานจระเข้แต่ละคนต่างมีวิชาดีที่ได้
ร่ำเรียนมาจากครูต่างสำนักกัน บางคนออกล่าจระเข้โดยใช้ไม้ทองหลางขนาด
เท่าต้นขา ยาวราว ๑.๕-๒ เมตรลงไปกับเรือที่ใช้ล่า เมื่อเห็นจระเข้ที่ดุร้ายว่ายน้ำ
และอ้าปากอยู่ก็จะขับเรือเข้าใกล้และเอาไม้ทองหลางยัดลงไปขวางปากจระเข้
เมื่อจระเข้งับไม้ทองหลางซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน ฟันของมันจะติดเข้าไปในเนื้อไม้
ถอนไม่ออก จากนั้นพรานจึงใช้เชือกพันมัดปากจระเข้ตรงบริเวณก้อนขี้หมาด้านใน
ทันที วิธีการเช่นนี้ทำให้จระเข้จมน้ำไม่ลงลอยคออยู่ จระเข้ที่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้
เรียกว่า " จระเข้กล้อง " กล้องเป็นคำโบราณใช้เรียกสัตว์ที่อยู่ในสภาพถูกทำร้าย
ถูกย่ำยี ถูกคาบหรือถูกบีบรัดให้ได้รับความลำบาก

บางชุมชนจะใช้วิธีล่อให้จระเข้กินฟักต้มที่ถูกต้มจนเดือดพล่าน เมื่อจระเข้พุ่งเข้า
งับฟักที่ต้มจนร้อนและกลืนลงท้องไป ไม่นานมันก็จะดิ้นรนฟาดตัว ฟาดหัว ฟาดหาง
ดิ้นทุรนทุรายจากความร้อนของฟักต้มที่เดือดพล่านอยู่ในท้อง ไม่กี่วันต่อมาซาก
จระเข้ขนาดมหึมาก็ลอยอืดขึ้นเหนือลำน้ำให้ชาวบ้านได้เอาซากไปผ่าท้องแหวะออก
หาสิ่งที่บรรจุอยู่ในท้องของมัน

ตำนานเกี่ยวกับจระเข้ในเมืองไทยมีอยู่หลายเรื่อง เช่นเมื่อราวร้อยปีเศษที่ผ่านมา
ครั้งยังเป็นประเทศสยาม มีเรื่องของจระเข้น้ำจืดขนาดใหญ๋ที่ถูกจับมาขังไว้ในวัดกลาง
กรุงเทพมหานครนี่เอง เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมเป็นวัดราษฏร์ชื่อว่า
" วัดนางปลื้ม " ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น " วัดสามปลื้ม "

ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๖๒ เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) แม่ทัพใหญ๋
ของไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เริ่มสร้างวัดสามปลื้มขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อแล้วเสร็จได้น้อม
เกล้าถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ และได้รับพระราชนามใหม๋ว่า " วัดจักรวรรดิ
ราชาวาส วรมหาวิหาร "

หลังจากจระเข้ขนาดใหญ่ตัวนี้ถูกนำมาเลี้ยงไว้ในสระของวัด วันดีคืนดีก็มีคนมือไม่อยู่สุข
เอาไม้ไปทิ่มตาจระเข้จนบอด ผู้คนในยุคนั้นพากันเรียกจระเข้ตัวนั้นว่า " อ้ายบอดวัดสามปลื้ม "
จวบจนปัจจุบันในวัดก็ยังมีสระเลี้ยงจระเข้อยู่เยื้องหน้าพระอุโบสถเรียกกันว่าสระ " จระเข้
วัดสามปลื้ม "

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ปรากฏมีจระเข้ตัวใหญ่ตัวหนึ่งออกอาละวาดกินคนที่แม่น้ำน่าน
บ้านเกยชัย ปัจจุบันคือ ตำบลเกยชัย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้คนสมัยนั้นเชื่อ
ว่าเป็นจระเข้เจ้า ปลายจมูกมันมีดวงด่างสีขาวเป็นจุดเด่น จึงต่างพากันเรียกชื่อมันว่า
" คุณด่างเกยชัย "

คุณด่างเกยชัยออกอาละวาดกินคนได้ไม่นานก็ถูกปราบลงได้ด้วยคมหอกของหมอจระเข้
สองคน ซึ่งได้ตัดหัวเก็บไว้ ว่ากันตามคำเปรียบเทียบในสมัยโบราษว่า มันมีความใหญ่
ขนาดหัวถึงหางสามารถนอนขวางลำน้ำจากฝั่งหนึ่งถึงอีกฝั่งหนึ่งได้

เรื่องราวของคุณด่างเกยชัยมีบันทึกอยู่ในสมุดบันทึกของสมเด็จพรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เมื่อคราวที่ท่านเสด็จไปตรวจราชการที่เมืองเหนือได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวของคุณด่าง
เกยชัยไว้สั้น ๆ สองบรรทัด มีใจความว่า " ที่นี่มีศรีษะของจระเข้ใหญ่ เป็นจระเข้กินคน
ชาวบ้านเล่าลือกันว่าเป้ฯจระเข้เจ้า มีพระยาคนหนึ่งได้นำเอาศรีษะจระเข้นี้เข้ากรุงเทพฯ
และได้ขายต่อให้ชาวต่างชาติไป เป็นอันจบกันสำหรับเรื่องราวศรีษะจระเข้ใหญ่ " ปัจจุบัน
บันทึกของท่านตอนนี้สามารถสืบค้นได้ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

เรื่องราวของคุณด่างเกยชัยมักจำสับสนกับคุณด่างคลองบางมุด จระเข้น้ำเค็มขนาดใหญ่
ที่ออกอาละวาดกินคนที่คลองบางมุด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ หมู่บ้านหนองไก่ปิ้ง ตำบลนาท อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ที่นั่นมีลำน้ำลึกสายใหญ่ ตลอดลำน้ำมีสีเขียวครึ้มตลอดสาย เรียกกันว่า " คลองบางมุด "
คลองนี้มีทางแยกติดต่อไปถึงแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำชุมพร แม่น้ำตะโก และแม่น้ำ
ตาปีที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี นอกจากนี้ยังออกไปทะลุถึงทะเลที่บริเวณสามเหลี่ยมปากน้ำ
ชุมพร ตรงสามเหลี่ยมนี้สามารถต่อไปถึงแม่น้ำแสงแดด อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรได้

ย้อนหลังไปเมื่อกึ่งพุทธกาลปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ที่แม่น้ำแสงแดดมีจระเข้ยักษ์ออก
อาละวาดกัดกินชาวบ้านไปสองสามคน ครั้นเมื่อชาวบ้านรวมตัวกันออกล่าหาตัวมัน จระเข้
ก็หายตัวไปอย่างไร้วี่แวว

เมื่อถึงเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๗ ในคลองบางมุดที่อยู่ด้านหลังสถานีรถไฟ
ควนหินมุ้ยไม่ไกลนัก ผู้คนที่ลงอาบน้ำริมคลองหรือเดินเล่นอยู่ตามตลิ่ง ชาวบ้านที่พายเรือ
ออกตัดใบจากขาย รวมถึงชาวจีนชราผู้มีอาชีพขายกาแฟขายก๋วยเตี๋ยวขึ้นล่องตามลำคลอง
สองฝั่ง คนเหล่านี้หลายรายได้ถูกสัตว์ร้ายสยองขวัญพุ่งเข้างับด้วยขากรรไกรที่ทรงพลัง
แล้วกลืนลงท้องไป

เมื่อมันกินเหยื่อหรือกินคนแต่ละครั้งแล้ว ความอิ่มของมันจะทำให้มันซ่อนตัวกบดาน
อยู่ได้นานถึง ๑๕ วัน ก่อนจะลอยตัวขึ้นไปหาเหยื่อรายต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น